หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา ข.๓๕

กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ
—————————————–
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
กรมเจ้าท่า สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ โดยหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ ๓ ,๔ ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตื้นเขิน โดยใช้เรือเจ้าท่า ข.๓๕ และเรือเจ้าท่า ๒๓๕ เป็นเครื่องจักรปฏิบัติงาน ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ
 ขยายความกว้างความลึกของร่องน้ำ แก้ไขปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน
 ฟื้นฟูบำรุงรักษาแม่น้ำ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ
 ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพิ่มปริมาณการระบายน้ำ
 ป้องกันและบรรเทาการเกิดอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก
 เป็นการปรับสภาพลำน้ำ และบรรเทาปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง
เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๖ ระยะเวลาดำเนินการ ๒๑๐ วัน ขนาดร่องน้ำ ความกว้างที่ก้นร่องน้ำออกแบบมีความกว้าง ๔๐ เมตร และระดับความลึกที่ออกแบบมีความลึกที่ ๑๒.๕๐ – ๑๓.๐๐ เมตร (MSL.) ค่าระดับหมุด GPS กผท.๐๐๗ อยู่ที่ระดับ ๒๔.๗๙๕ เมตร ระยะทางประมาณ ๒.๔ กิโลเมตรเมตร ระดับที่ก้นร่องน้ำตามแผนการขุดลอก ๙ เมตร (MSL) ปริมาณเนื้อดิน ๒๕๖,๑๗๖ ลูกบาศก์เมตร
ความคืบหน้าผลการปฏิบัติงาน วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ดำเนินการได้
~ ปริมาณดินที่ขุดได้ ๕,๐๘๙ ลบ.ม
~ คิดเป็น ๑.๙๙ %
~ ระยะทางสะสม ๔๗ เมตร
~ ปริมาณคิวดินคงเหลือ ๒๕๑,๐๘๗ ลบ.ม
ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ ๘๖ ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ ๕๐ ไร่
ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน สภาพแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ทิ้งดินและการทิ้งสมอสวิงขุดลอก เนื่องจากพื้นที่ขุดลอกตื้นเขิน ทำให้เรือเจ้าท่า ๒๓๕ เข้าปฏิบัติงานล่าช้า
—————————————————
สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ ๒
โทรศัพท์ 056255385
E-Mail : cdmc2@md.go.th
เว็บไซด์ https://cdnmoffice2.md.go.th/
Facebook : https://www.facebook.com/officenakhonsawan

วันที่:07 กุมภาพันธ์ 2566

เข้าชม:117

ข้อมูลโดย: admincdnmoffice2

แกลเลอรี่