หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำแม่มอกอำเภอทุ่งเสลี่ยมจังหวัดสุโขทัยปฎิบัติงานบริเวณ แม่น้ำแม่มอกอำเภอทุ่งเสลี่ยม ใช้รถขุดนว.3นว.5 เป็นเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน โดยดำเนินการลอกตามแผนงานจำนวน 180,000 ลูกบากเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 170 วัน เปิดหน่วยวันที่ 8 ธันวาคม 2565ผลการปฏิบัติงานถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566 ได้วัสดุขุดลอกจำนวนประมาณ 124,300ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 69
ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงาน
– แก้ไขปัญหาการตื้นเขินและฟื้นฟูสภาพร่องน้ำ
– ช่วยแก้ปัญหาการระบายน้ำ
– ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำใช้ในการอุปโภค – บริโภค
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้
– ประชาชนทั่วไป
– เกษตรกร ชาวประมง และผู้ที่อุปโภค – บริโภคน้ำ
งานกำจัดผักตบชวาและวัชพืชจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดขัยนาท เริ่มปฎิบัติงานบริเวณ แม่น้ำเจ้าพระยา ต.ธรรมมามูล และบุ่งหาดกองสิน ต.เขาท่าพระ อ.เมืองขัยนาท จ.ชัยนาท ใช้ชุดเรือเจ้าท่า ผ.4และ ผ.8 เป็นเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน โดยมีนาย กฤษณะ เกตุแก้ว หัวหน้างานพัฒนา ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยฯ โดยดำเนินการกำจัดผักตบชวาฯ ตามแผนงานจำนวน 148,000 ตัน ระยะเวลาดำเนินการ 300วัน ผลการปฏิบัติงานถึงวันที่ 20 มีนาคม 2566 สามารถกำจัดผักตบชวาฯได้จำนวน 57,990 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 39.18
ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงาน
– แก้ไขปัญหาการเดินเรือและฟื้นฟูสภาพร่องน้ำ
– ช่วยแก้ปัญหาการสัญจรทางน้ำและการระบายน้ำ
– ช่วยแก้ไขปัญหาการอุปโภค – บริโภค
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้
– ประชาชนทั่วไปที่สัญจรทางน้ำ
– ผู้ประกอบการเดินเรือต่างๆ
– เกษตรกร ชาวประมง และผู้ที่อุปโภค – บริโภคน้ำ
หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ ๓ ,๔ ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตื้นเขิน โดยใช้เรือเจ้าท่า ข.๓๕ และเรือเจ้าท่า ๒๓๕ เป็นเครื่องจักรปฏิบัติงาน ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ
– ขยายความกว้างความลึกของร่องน้ำ แก้ไขปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน
– ฟื้นฟูบำรุงรักษาแม่น้ำ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ
– ป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพิ่มปริมาณการระบายน้ำ
– ป้องกันและบรรเทาการเกิดอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก
– เป็นการปรับสภาพลำน้ำ และบรรเทาปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง
เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม 2566 ระยะเวลาดำเนินการ ๒๑๐ วัน ขนาดร่องน้ำ ความกว้างที่ก้นร่องน้ำออกแบบมีความกว้าง ๔๐ เมตร และระดับความลึกที่ออกแบบมีความลึกที่ ๑๒.๕๐ – ๑๓.๐๐ เมตร (MSL.) ค่าระดับหมุด GPS กผท.๐๐๗ อยู่ที่ระดับ ๒๔.๗๙๕ เมตร ระยะทางประมาณ ๒.๔ กิโลเมตรเมตร ระดับที่ก้นร่องน้ำตามแผนการขุดลอก ๙ เมตร (MSL) ปริมาณเนื้อดิน ๒๕๖,๑๗๖ ลูกบาศก์เมตร
ความคืบหน้าผลการปฏิบัติงาน วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖
ดำเนินการได้
~ ปริมาณดินที่ขุดได้ ๗๙,๘๒๙ ลบ.ม
~ คิดเป็น ๓๑.๑๖ %
~ ระยะทางสะสม ๕๒๐ เมตร
~ ปริมาณเนื้อดินคงเหลือ ๑๗๖,๓๔๗ ลบ.ม
ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ ๘๖ ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ ๕๐ ไร่